ads by google

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การถ่ายฝากตัวอ่อน


การถ่ายฝากตัวอ่อน

        การถ่ายฝากตัวอ่อน เป็นการพัฒนาจากการผสมเทียม เพื่อให้ได้ปริมาณสัตว์ พันธุ์ดีเพิ่มขึ้นในระยะเวลาเท่าเดิม
หลักการถ่ายฝากตัวอ่อนนั้น จะต้องมีแม่พันธุ์ดีเป็นแม่ตัวให้ กับแม่ที่อุ้มท้องเป็นแม่ตัวรับ ซึ่งมีได้หลายตัวและไม่จำเป็นต้อง เป็นพันธุ์ดี แม่ตัวรับจะมีหน้าที่รับตัวอ่อนจากแม่ตัวให้มาเจริญเติบโตภายในมดลูกจนคลอด

ภาพที่ 20 การถ่ายฝากตัวอ่อนในโคนม 
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 82

         การถ่ายฝากตัวอ่อนจะทำกับสัตว์ที่ตกลูกครั้งละ 1 ตัว และมีระยะเวลาในการอุ้มท้องนาน ๆ เช่น โค กระบือ เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนสัตว์ในขณะที่ระยะเวลาการอุ้มท้องเท่าเดิม

ข้อดีของการถ่ายฝากตัวอ่อน มีดังนี้
1. ได้พันธุ์ที่ดีและช่วยเพิ่มผลผลิตได้รวดเร็วในระยะเวลาเท่าเดิม
2. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเพิ่มผลผลิต
3. ช่วยอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นได้


ตารางที่ 4 แสดงข้อเปรียบเทียบของวิธีการผสมเทียมกับการถ่ายฝากตัวอ่อน
การผสมเทียม
การถ่ายฝากตัวอ่อน
1. ใช้แม่โคตัวเดียว
2. ใช้แม่โคพันธุ์ดีผสมกับน้ำเชื้ออสุจ ิของพ่อโคพันธุ์ดี
3. แม่โคพันธุ์ดีอุ้มท้อง ไปจนคลอดได้ลูก 1 ตัว
1. ใช้แม่โค 2 ชนิด คือ แม่โคตัวให้กับแม่โค ตัวรับซึ่งแม่โคตัวรับอาจมีหลายตัวได้
2. ใช้แม่โคพันธุ์ดีผสมกับน้ำเชื้ออสุจิของพ่อโคพันธุ์ดี
3. นำตัวอ่อนออกจากมดลูก ของแม่โคตัวให้ไปฝากในมดลูก ของแม่ตัวรับจำนวน 5 ตัว
4. ให้แม่โคตัวรับทั้ง 5 ตัว อุ้มท้องไปจนคลอดได้ลูกโคพันธุ์ดี 5 ตัว
           วิธีการถ่ายฝากตัวอ่อน ถือเป็นวิทยาการใหม่อย่างหนึ่ง ที่นำมาปรับใช้กับ                การพัฒนาปศุสัตว์ของประเทศไทย การพัฒนาการเลี้ยงโคนมช่วยให้มีการขยายพันธุ์ได้ในระยะเวลาสั้น โดยเฉพาะโคนมพันธุ์ดีที่หายาก มีราคาแพงและต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ เป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์นมภายในประเทศอันจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การถ่ายฝากตัวอ่อนยังสามารถแก้ปัญหาการผสมพันธุ์ที่ติดยากในสัตว์อื่น ๆ ในกรณีที่สัตว์นั้นใกล้จะสูญพันธุ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น